DLT GPS : จีพีเอสติดตามรถ ตามประกาศ กรมการขนส่งทางบก
กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้
รถบรรทุกวัตถุอันตราย รถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารสองชั้น และ รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ต้องติดตั้ง เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS Tracker) พร้อมด้วยเครื่องรูดใบขับขี่ (RFID Magnetic Card Reader) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับ ศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบก ก่อนจะสามารถนำรถมา จดทะเบียนหรือต่อทะเบียน ตามโครงการ “DLT GPS มั่นใจทั่วไทย รถใช้จีพีเอส”
อุบัติเหตุทางถนนก่อให้เกิดความเสียหาย ที่รุนแรง ทั้งแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ขับรถฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้สามารถควบคุม กํากับ ดูแล ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด สมควรกําหนดให้รถที่นํามาใช้ต้องติดตั้งและใช้เครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ หรือ เครื่องจีพีเอสติดตามรถ (GPS Tracker)
รถที่ต้องติดตั้ง GPS ติดตามรถ
สิ่งที่กรมการขนส่งทางบกจะตรวจสอบ
ขับรถเร็วเกินกำหนด
ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามชนิดของรถแต่ละประเภท
ขับรถโดยไม่แสดงตัวผู้ขับขี่
การไม่แสดงตน หรือ ใช้ใบอนุญาตขับรถผิดประเภท ไม่ถูกต้อง หรือใบอนุญาต ขับรถหมดอายุ
ขับรถเกินชั่วโมงการทำงาน
ขับรถต่อเนื่องเกิน 4 ชม โดยไม่หยุดพัก และขับรถเวลารวมเกิน 8 ชม ภายในระยะเวลา 24 ชม
การไม่ติดตั้ง และ ไม่ส่งข้อมูล
ขับรถโดยไม่ติดตั้งหรือไม่ใช้เครื่องGPS และการถอดเครื่อง GPS
อ่านเพิ่มเติ่ม แนวทางการบังคับใช้กฎหมายจาก ระบบ GPS
อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้ง
รถ 1 คัน จะต้องติดตั้ง เครื่องจีพีเอสติดตามรถ (GPS Tracker) และ เครื่องรูดใบขับขี่ (RFID Magnatic Card Reader) ที่ ผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก
GPS Tracker + RFID Magnatic Card Reader = DLT GPS
ระบบบ่งชี้ผู้ขับรถ ตามชื่อเรียกของกรมการขนส่งทางบก เป็นระบบที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 อย่าง คือ เครื่อง GPS ติดตามรถ และ เครื่องรูดใบขับขี่ ทำหน้าที่ส่งข้อมูลต่างๆของรถและคนขับ ไปที่ศูนย์บริหารจัดการการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก
ระบบบ่งชี้ผู้ขับรถมีไว้ใช้ทำอะไร
ใช้สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลของรถเข้ากับกรมขนส่ง เพื่อระบุตำแหน่งรถ ระบุตัวตนผู้ขับรถ จากใบอนุญาตขับขี่ และระบุตัวตนของรถจาก หมายเลขคัสซี , ป้ายทะเบียน , ลักษณะของรถ และประเภทการขนส่ง ตัวอย่างเช่น นาย ประหยัด ชาโอจันทร์ เลขที่ใบขับขี่ 221514436721300 ขณะนี้ กำลังขับ รถตู้โดยสาร มาตรฐาน 2 ข ไม่ประจำทาง หมายเลขทะเบียน 10-1111 นครราชสีมา อยู่ที่พิกัดบริเวณ แขวงลาดกระบัง ใกล้กับ สนามบินสุวรรณภูมิ
ระบบบ่งชี้ผู้ขับรถใช้งานยังไง
ผู้ขับรถจะต้องแสดงตนกับระบบบ่งชี้ผู้ขับรถทุกครั้งเมื่อต้องขับรถและลงจากรถ ผู้ขับรถจะต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ของขนส่ง ประเภทใดประเภทหนึ่ง จาก ใบอนุญาตขับขี่ขนส่ง 8 ประเภท คือ ท.1 ท.2 ท.3 ท.4 และ บ.1 บ.2 บ.3 บ.4 เพื่อใช้รูดกับเครื่องรูดใบขับขี่เมื่อต้องขับรถ
เมื่อเสียบกุญแจรถและเปิดสวิตช์สตาร์ทรถ จะมีเสียงสัญญาณเตือน จากเครื่องรูดบัตรดังขึ้น ให้ใช้ใบขับขี่รูดที่เครื่องรูดบัตรหนึ่งครั้ง เสียงเตือนจะดับลงเมื่อรูดด้วยใบขับขี่แล้ว เครื่องรูดใบขับขี่จะอ่านค่าจากแถบแม่เหล็กใบขับขี่และส่งข้อมูล เลขที่ใบขับขี่ ไปที่ศูนย์ฯของกรมขนส่ง
ระบบติดตามรถ ของ GPS URI
ทุกๆ 1 นาที เครื่อง GPS ติดตามรถ จะส่งข้อมูลต่างๆของรถแบบเรียลไทม์ มาที่เซิร์ฟเวอร์ของ GPS URI และดึงข้อมูลที่ได้รับมาแสดงที่หน้าจอผู้ใช้งานทั้งบนเว็บบราวเซอร์และแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เช่น ตำแหน่งปัจจุบันของรถ , ข้อมูลสถานะของรถ ความเร็วที่ใช้ สถานะการจอดรถ การดับเครื่อง การเปิดปิดสวิตช์กุญแจ , ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง และ จำนวนชั่วโมงการขับขี่และการจอดพัก
นอกจากข้อมูลแบบเรียลไทม์แล้ว ยังมีการเก็บข้อมูล เป็นรายงานและกราฟ เพื่อสรุปข้อมูลรายละเอียดทุกอย่างของรถ ให้ง่ายต่อการตรวจสอบ เช่น รายงานการใช้ความเร็วเกินกำหนด รายงานระยะทางรวมที่รถวิ่ง รายงานการจอดรถ กราฟความเร็ว กราฟการใช้น้ำมันเชื่อเพลิง และการดูเส้นทางที่รถวิ่งย้อนหลัง
ติดตั้ง GPS ติดตามรถ กับเรา ตอนนี้
1. แจ้งรายละเอียดชนิดรถ วัน เวลา และสถานที่ ที่สะดวกพร้อมติดตั้งจีพีเอส
2. ช่างจากเราส่งตรงไปติดตั้งจีพีเอสถึงรถคุณ
3. ชำระเงินและรับรหัสเข้าใช้งานระบบติดตามรถ
4. ออกหนังสือรับรองการติดตั้ง GPS สามารถนำรถไปจดทะเบียนหรือต่อทะเบียนกับกรมขนส่งได้ทันที